คุณวิทยา : Theory of Value

คุณวิทยา : Theory of Value
ความหมายของคุณวิทยา หรือปรัชญาคุณค่า
      คำว่า axiology มาจากคำในภาษากรีกว่า “axios” ซึ่งหมายถึง “เหมือนกับที่มีคุณค่า” (of like value) หรือ ความมีค่ามากเท่าที่จะเป็นได้ (worth as much)

      ปรัชญาคุณวิทยา เป็นเรื่องราวของการสืบหาธรรมชาติและเกณฑ์มาตรฐานของคุณค่าหรือค่านิยม  ซึ่งมีกำเนิดมาจากทฤษฎีแห่งแบบหรือทฤษฎีการจินตนาการของ Plato ในเรื่องความคิดเกี่ยวกับความดี  
ความหมายของ "คุณวิทยา"
1. ศาสตร์ที่ศึกษาความจริง (Positive Science หรือ Natural Science) ศาสตร์นี้ศึกษาความจริง 
   (Factหรือตามที่มันเป็นจริง เช่น วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น
2.ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องคุณค่า (Normative Science) หมายถึงศาสตร์ที่เน้นเรื่องคุณค่า (Value
   อุดมคติภายใน  ศาสตร์ที่ว่าด้วยสิ่งที่ควรจะเป็น เช่น จริยศาสตร์  สุนทรียศาสตร์ ตรรกศาสตร์ เป็นต้น

       คำว่า "ข้อเท็จจริง"  (fact) เป็นเพียงปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส 
ส่วนคุณค่ามีลักษณะที่อาศัยข้อเท็จจริงว่าควรจะเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คุณค่าเกิดจาก
การประเมินไม่ใช่การวัด เพราะคุณค่าเป็นนามธรรม คุณค่าเป็นสิ่งที่กำหนดเองไม่ได้ต้องมติของคนส่วน
ใหญ่ เป็นที่ยอมรับของคนส่วนมาก
      คำว่า "คุณค่า" (value) หมายถึงลักษณะที่พึงประสงค์ คุณค่าเป็นนามธรรมอันเกิดจากการประเมิน
ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สังคม  

คุณค่า (value) กับ ข้อเท็จจริง (Fact)
คุณค่าแตกต่างจากข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน ยกตัวอย่าง เช่น
ประเด็น .-  กางเกงยีนส์ 2 ตัว

                 ตัวที่ 1 มีสีดำและมีขนาดเอว 32 นิ้ว
                 ตัวที่ 2 มีสีน้ำเงินและมีขนาดเอว 26  นิ้ว
                 หากมีคนถามคุณว่า.-
                1. กางเกงตัวไหนมีขนาดใหญ่กว่ากัน ? (ข้อเท็จจริง)
                2. กางเกงยีนส์ตัวไหนสวยกว่ากัน ? (คุณค่า)


  


ข้อเท็จจริง (Fact)
คุณค่า (value)
              หนังสือเล่มนี้แดงเขียน
              หนังสือเล่มนี้ดี 
              นางสาว กุ๊กไก่ สูง 5
              นางสาว ก. สวย
             กฎหมายฉบับนี้ออกเมื่อ ปีที่แล้ว
             กฎหมายฉบับนี้ล้าสมัยไม่ยุติธรรม


ประเภทของคุณค่า (the kind of value)
1. คุณค่านอกตัว (Extrinsic Value) เป็นคุณค่าที่นอกตัว สิ่งหรือกระทำนั้น ๆ เป็นเพียงวิถีทางหรือ
อุปกรณ์ที่จะนำไปสู่จุดหมายสุดท้าย ไม่มีคุณค่าในตัวเอง แต่คุณค่าของมันอยู่ที่ผู้กระทำปรารถนา เช่น 
เงิน เป็นสิ่งที่มีค่า เป็นคุณค่านอกตัว เพราะมีเงินต้องนำไปซื้อ เพื่อให้สำเร็จสมความมุ่งหมาย
2. คุณค่าในตัว  (Intrinsic  Value)  เป็นคุณค่าที่ตรงกับจุดหมายสุดท้ายคือเป้าหมายของสิ่งหรือการ
กระทำนั้นอยู่ในตัวเอง  ไม่เป็นวิถีหรืออุปกรณ์นำไปสู่สิ่งอื่นอีก  เช่น  นักเรียนขยันเรียน  เพราะเขาเห็นว่า
เป็นสิ่งที่ดี  การขยันเรียนมีจุดหมายในตัวเอง  นักปรัชญาเรียกคุณค่าประเภทนี้ว่า  คุณค่าที่แท้จริง

ลักษณะการตัดสินคุณค่าของคุณวิทยา 4 แบบ

  1. การตัดสินเชิงจิตวิสัย
      เช่น ดอกกุหลายจะสวยหรือไม่สวย ขึ้นอยู่กับผู้ดู
  2. การตัดสินเชิงวัตถุวิสัย
      เช่น ดอกกุหลาบจะสวยหรือไม่สวย ขึ้นอยู่กับดอกกุหลาบ
  3. การตัดสินเชิงจิตวิสัย+วัตถุวิสัย
      เช่น ดอกกุหลายจะสวยหรือไม่สวย ขึ้นอยู่กับผู้ดูและดอกกุหลาบด้วย
  4. การตัดสินเชิงอรรถประโยชน์
      เช่น ดอกกุหลาบจะสวยหรือไม่สวย ไม่สำคัญ อยู่ที่ว่าดอก      กุหลาบนั้นใช้ประโยชน์ได้ไหม (มีค่า) 
       หากไม่มีก็ถือว่าไร้ค่า


การศึกษาด้านคุณค่า (the study of value)

แบ่งออกเป็น 2 สาขา
1. จริยศาสตร์ (Ethics)
2. สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)





จริยศาสตร์ (Ethics)
          จริยศาสตร์ (ethics) ตรงกับภาษาละตินว่า ethos, ethikos ซึ่งในสมัยกรีกโบราณจะใช้คำเหล่านี้
ในหลายความหมาย อาทิ อุปนิสัย ประเพณี อารมณ์ หรือกิริยาท่าทาง (character, custom, 
disposition, manner) โดยความหมายนัยนี้  จริยศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติ หรือการ
กระทำของมนุษย์ (ethics : science of moral ; rules of conduct) 
         การศึกษาเรื่องคุณค่าทางจริยศาสตร์อันเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรม หรือการกระทำของมนุษย์นั้น  
พิจารณาตามขอบเขตของจริยศาสตร์ที่พยายามศึกษาหาคำตอบใน 3 ประเด็นนี้ คือ
1.คุณค่าการกระทำของมนุษย์ (ค่าทางจริยธรรม) เราจะนิยามความดีได้หรือไม่ ความดีคืออะไร 
   ความดีมีอยู่จริงหรือเป็นสิ่งที่แต่ละสังคมสร้างขึ้น
2.เกณฑ์ตัดสินคุณค่าการกระทำของมนุษย์ อะไรคือเกณฑ์ในการตัดสินว่าทำอย่างนี้ถูก ทำ
   อย่างนี้ผิด ควร หรือไม่ควร
3.อุดมคติหรือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์  มนุษย์แสวงหาสิ่งที่ตน
   ปรารถนามากมาย แต่มิใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อสิ่งอื่น

ปัญหาอุดมคติทางจริยศาสตร์ 
มนุษย์ยังมีความสับสนว่าเป้าหมายสุดท้ายของชีวิตคืออะไรกันแน่ มีกลุ่มแนวคิดได้นำเสนอไว้ 3 กลุ่ม
ใหญ่ คือ
1. กลุ่มสุขนิยม (Hedonism) เน้นแสวงความสุข ความสะดวกสบายทางกายเป็นสำคัญ
2. กลุ่มอสุขนิยม (Non-Hedonismเน้นแสวงหาความสุขที่ละเอียดอ่อน  และมีคุณภาพเหนือ
               กว่าความสุขทางกาย คือ ความสุขทางจิต
3. กลุ่มมนุษย์นิยม (Hedonismเน้นแสวงความสุขระหว่างกลาง มนุษย์ไม่ควรลุ่มหลงความสุขางกาย เพราะเป็นการลดตัวลงไปเป็นสัตว์  และมนุษย์ไม่ควรเชิดชูมนุษย์ด้วยกันให้บริสุทธิ์เหมือนพระเจ้า เพราะขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์ “สังคมควรสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทั่วหน้า และเปิดโอกาสให้แสวงสิ่งที่ตนพอใจ”



ความสัมพันธ์ปรัชญากับวิทยาศาสตร์

  


ปรัชญากับวิทยาศาสตร์
Philosophy and Science
           
                 วิทยาศาสตร์ ให้ความสำคัญต่อความจริงที่นำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน เพื่อการควบคุมและทำนายผลที่จะเกิดขึ้น บนประสบการณ์ระดับประสาทสัมผัส ได้แก่ การกำหนดปัญหา การตั้งสมมติฐาน การรวบรวมข้อมูล การแยกประเภทและการวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินผลและการนำไปใช้
                 ปรัชญา ให้ความสำคัญต่อการเข้าใจความจริง ด้วยการใช้เหตุผล โดยมีพื้นฐานว่ามนุษย์มีสติปัญญา ที่สามารถเข้าใจความจริง

ความสัมพันธ์ของปรัชญากับวิทยาศาสตร์
                วิทยาศาสตร์และปรัชญาต่างมีธรรมชาติของตน วิทยาศาสตร์ไม่ใช่ปรัชญา เพราะว่ามันเจาะจงศึกษาความจริงเพื่อนำไปใช้สู่ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้มุ่งความสนใจไปที่คำถามที่เป็นปัญหาของปรัชญา (ความจริงคืออะไร? รู้ได้อย่างไร? ฯลฯ) โดยตรง วิทยาศาสตร์สนใจทำการศึกษาค้นคว้าทดลองตามหลักการของตน เพื่อตอบปัญหาในสิ่งที่วิทยาศาสตร์สนใจ 

ความหมายและคุณลักษณะของวิทยาศาสตร์
                วิทยาศาสตร์ถือกำเนิดจากความต้องการความรู้ใหม่เพิ่มเติมจากความรู้เดิม โดยมีหลักการว่า สิ่งที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถรู้ เข้าใจและอธิบายได้ แต่เดิมวิทยาศาสตร์แฝงตัวอยู่ในปรัชญา และค่อยๆ แยกตัวออกมาโดยกำหนดบริบทของตนในการแสวงหาความรู้โดยใช้ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสเป็นพื้นฐานในการแสวงหาความจริง ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาปรากฏการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลในการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในรูปแบบของการตั้งสมมติฐาน เพื่อทดสอบหรือคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานบนข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอคติหรือความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละคน ในแง่นี้เราจึงบอกได้ว่าความรู้ที่ได้จากวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เป็นสากล


ความหมายของวิทยาศาสตร์
เราให้นิยามความหมายบางประการของวิทยาศาสตร์ได้ว่า
ก. หมายถึงกระบวนการคิดค้นความจริงอย่างเป็นระบบ
ข. หมายถึง องค์ความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์และความจริง อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาประมวลความรู้เพื่อให้ชนรุ่นหลังศึกษาค้นคว้า (ต่อยอด) และการนำไปประยุกต์ใช้อำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ค. ฯลฯ
จากความหมายบางประการที่ยกมาข้างต้น จึงกล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์เป็น องค์ความรู้สากลที่เป็นระบบ เป็นสากลและสามารถพิสูจน์ผลได้แน่นอนตายตัว โดยไม่ขึ้นกับสภาพแวดล้อม บุคคล เวลาและสถานที่

บทบาท (คุณค่า) ของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ในฐานะเป็นกระบวนการค้นคว้าหาความจริง มีบทบาทหน้าที่สำคัญสองประการ คือ
ก. การอธิบายปัญหาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ (สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร)
ข. การคาดการณ์สิ่งที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้ามีเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามีเหตุปัจจัยแบบนั้น ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาจะเป็นอย่างนั้น)

ลักษณะของความรู้เชิงวิทยาศาสตร์
ก. มีความเป็นสากล (Universality) กล่าวคือ ได้รับการยอมรับทั่วไป เป็นความจริงที่ได้ไม่ขึ้นกับสภาพแวดล้อม บุคคล เวลาหรือสถานที่
ข. มีความเป็นปรนัย (Objectivity ) กล่าวคือ เป็นความรู้ที่เป็นหลักการโดยไม่ขึ้นกับอารมณ์ ความรู้สึกของแต่ละคน
ค. มีความแน่นอน (Consistency) กล่าวคือ เป็นความรู้ที่แน่นอน ตายตัว ผลการค้นคว้ามีลักษณะเป็นเอกภาพในทุกมุมโลก
ง. ความสมเหตุสมผล (Verificability) กล่าวคือ เป็นความรู้ที่จะต้องมีผลลัพธ์ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีเหตุปัจจัยทำนองเดียวกัน

กระบวนการความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ 
มีลำดับ 5 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
ก. การกำหนดปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เราอยากจะรู้เกี่ยวกับความจริง

ข. การตั้งสมมติฐาน หรือความเป็นไปได้ที่สิ่งนั้นจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
ค. การรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
ง. การแยกประเภทและการวิเคราะห์ข้อมูล
จ. การประเมินผลและการนำไปใช้


ความเหมือนและความต่างของปรัชญากับวิทยาศาสตร์
ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ต่างมีพื้นฐานบนความจริงที่มนุษย์ตั้งคำถามและพยามศึกษาหาคำตอบในประเด็น/โจทย์ที่สอดคล้องกับบริบทตามธรรมชาติของตน โดยสรุปภาพรวมได้ดังนี้

                1. ในฐานะที่ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ เป็นศาสตร์ ย่อมมีจุดหมาย คือ การแสวงหาความจริง อันเป็นคุณลักษณะโดยทั่วไปของทุกศาสตร์ แต่ความจริงที่ปรัชญาและวิทยาศาสตร์มุ่งตอบนี้มีรายละเอียดด้านคำถาม และวิธีการตอบที่แตกต่างกัน กล่าวคือ
                ก. ในขณะที่ปรัชญาตั้งคำถามว่า ความจริงคืออะไร รู้ได้อย่างไรและเอาอะไรมาตัดสินความจริง?” (What/Why to be) อันเป็นคำถามที่พิจารณาถึงคุณค่าและความหมายของความจริง โดยยึดสิ่งนั้น (Object) เป็นศูนย์กลาง โดยไม่ใส่ใจว่าความจริงของสิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตหรือไม่ ในขณะที่วิทยาศาสตร์ตั้งคำถามว่า ความจริงเป็นอย่างไร จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร” (How to be) อันเป็นคำถามที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการตั้งและตอบคำถาม (Subject) วิทยาศาสตร์จึงสนใจคำตอบในรายละเอียดของสิ่งนั้น เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน/อนาคต (ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต)               
                ข. ปรัชญาจะเน้นการแสวงหาความจริงโดยอาศัยสติปัญญา ตามหลักเหตุ-ผล (ใช้ตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือ มุ่งสู่มโนภาพ/สากลของสิ่งนั้น) ในขณะที่วิทยาศาสตร์เน้นประสบการณ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ในระดับประสาทสัมผัส เพื่อค้นหากฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เพื่อควบคุมหรือคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น             

                2. ความรู้ด้านปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ต่างสะท้อนถึงคุณลักษณะพิเศษของมนุษย์ ในฐานะเป็นผู้มีสติปัญญา พยายามศึกษาค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับความจริง แต่สิ่งที่ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ใส่ใจมีรายละเอียดต่างกัน กล่าวคือ
                ก. ปรัชญาเน้นการตั้งคำถามและตอบตามเหตุ-ผล นำสู่หลักการและแนวทางการดำเนินชีวิต คำตอบจึงยังไม่ขีดเส้นตายสิ้นสุด แต่ยังมีคำตอบที่สามารถโต้แย้งได้ไม่สิ้นสุด ในขณะที่วิทยาศาสตร์จะพิจารณาคำถาม และตอบให้จบเป็นประเด็น ๆ ไป คำตอบที่ได้รับมีลักษณะเป็นสากล
                ข. ปรัชญาสะท้อนถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นอะไรมากกว่ากฎเกณฑ์หรือหลักการที่ตายตัว ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ทั้งหมด เพราะมนุษย์มีสติปัญญา มีความสำนึก มีเสรีภาพที่สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตน ในขณะที่วิทยาศาสตร์สะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะของมนุษย์ที่ยังคงมีความต้องการในระดับประสาทสัมผัส ที่จำเป็นต้องได้รับการสนองความต้องการ



วิทยาศาสตร์
ปรัชญา
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดระบบแล้ว
ประสบการณ์สามัญที่จัดระบบแล้วและศึกษาส่วนย่อยเป็นส่วนๆ โดยเฉพาะ
รวบรวมข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับส่วนย่อย
รวบรวมข้อเท็จจริงจากประสบการณ์ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับส่วนรวม
วิทยาศาสตร์แต่ละสาขามีข้อสรุปจำกัดซึ่งอาจขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ
ประสานความขัดแย้งของวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆโดยประมวลเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นจริง (Reality)
พิจารณาข้อเท็จจริง
ประเมินค่าข้อเท็จจริง
ยึดความเป็นจริงของสสาร พลังงาน และอธิบายข้อเท็จจริงตามสมมติฐาน
สืบค้น ความสมเหตุสมผลของสมมติฐาน
วิธีการคือ สังเกต ทดลอง ตามสมมติฐานที่มีเหตุผล
วิธีการคือ หาเหตุผลจากข้อเท็จจริงในประสบการณ์ จากความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์


สรุป : ความสัมพันธ์ของปรัชญากับวิทยาศาสตร์
                ในฐานะที่ปรัชญาเป็น ศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งหลาย” (ก่อนที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร ต้องรู้ก่อนว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร) เราจึงพอจะมองเห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาและวิทยาศาสตร์ ปรัชญาเป็นเหมือนกับ มารดาที่มีวิทยาศาสตร์เป็นดัง บุตรวิทยาศาสตร์เป็นการต่อยอดความรู้ความจริงของมนุษย์ เพื่อการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


------------------------------------------

นายพัชรกุล นารีนุช

ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับไสยศาสตร์

ศาสนากับไสยศาสตร์




ไสยศาสตร์ (Magic)
การใช้วิชาความรู้เพื่อป้องกัน บังคับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติให้เป็นไปตามประสงค์

รูปแบบของไสยศาสตร์
1. White magic - ป้องกันเหตุร้าย ขับไล่สิ่งชั่วร้าย แก้อาถรรพ์ ปัดรังควาน
2. Black magic - ทำร้ายผู้อื่น คุณไสย ยาแฝด ฝังรูปฝังรอย กฤตยา

แนวคิดหลักของไสยศาสตร์
กฎแห่งความคล้ายคลึง - สิ่งที่เหมือนกันย่อมผลิตผลเหมือนกัน เช่น การทำสเน่ห์ยาแฝด, แห่นางแมว, ปั้นเมฆ, สาดน้ำสงกรานต์
กฎแห่งผัสสะ - สิ่งที่ครั้งหนึ่งเคยกระทบถูกต้องกัน ก็ยังเป็นเช่นนั้นต่อไปแม้จะอยู่ห่างไกลกันหรือขาดตอนกันไปแล้ว เช่น พิธีปูที่นอนบ่าวสาวเชิญผู้ใหญ่นอนเอาฤกษ์ให้อยู่เย็นเป็นสุข




ความเหมือนกัน (ศาสนา+ไสยศาสตร์)
1. เชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ
2. ความเชื่ออยู่เหนือประสบการณ์ตรง
3. มีระบบสัญญลักษณ์
4. มีพิธีกรรมและผู้ประกอบพิธีกรรม


ความแตกต่างกัน (ศาสนา+ไสยศาสตร์)

1. ผู้ประกอบพิธีกรรม (ตัวแทนของผู้สืบทอดศาสนา เช่น พระ / ตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถูกกำหนดไว้ตายตัว ผู้อื่นแทนไม่ได้)
2. พิธีกรรม (วัตถุประสงค์กว้าง ๆ เช่นให้มีความสุขความเจริญ/ วัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น ให้หายจากโรค, ขอฝน, ทำร้ายศัตรู)
3. ขั้นตอนของพิธีกรรม (สวดมนต์, สวดอ้อนวอน / เป็นรูปธรรม เช่น ลงยันต์, ปลุกเสก, นำรากไม้ใส่ขัน)

----------------------------------
นายพัชรกุล นารีนุช

ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับศาสนา

  ภาพสัญลักษณ์ของวิชาปรัชญา

"No science is complete without philosophy "

         ภาพสัญลักษณ์ของวิชาปรัชญา  แสดงปรัชญาเป็นราชินีแห่งวิทยาการทั้งหลาย เขียนภาพโดย Herrade De Landsberg ใน  คริตศวรรษที่ 16
          ภายในวงกลมกลางภาพมีสตรีสูงอายุนั่งอยู่บนบัลลังก์ สตรีนี้เป็นสัญลักษณ์ของปรัชญา มีนักปรัชญา 2 ท่านคือ เพลโต และ  อริสโตเติล เป็นฐานรองรับอยู่ใต้ราชินี
           ราชินีสวมมงกุฎ 3 เศียร ซึ่งหมายถึงสาขาสำคัญของปรัชญาสมัยนั้น คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์ มีธารน้ำพุ่งออกจากทรวงอกของราชินีและกลายเป็นวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งสมัยนั้นแบ่งออกเป็นศิลปะเสรี 7 วิชา คือ ไวยากรณ์ (รวมวรรณคดีอยู่ด้วย) วาทศิลป์  วิภาษวิธี ดนตรี เลขคณิต เรขาคณิตและตรรกวิทยา




ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับศาสนา
Philosophy and Religion

ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
คำสำคัญที่บ่งชี้ความแตกต่าง คือ
(1) คำว่า  ศาสนา  religion    
(2) คำว่า  ปรัชญา  philosophy

ความหมายของศาสนา
ก. ความหมายตามรูปศัพท์  ศาสนา คือ คำสั่งสอน โดยแบ่งเป็น  2  ลักษณะ
(1)  คำสั่ง (Orders)  คือ ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ วินัย 
       บทบัญญัติ ไม่ทำตามมีโทษ
(2)  คำสอน (Teachings)  คือ คำแนะนำ ข้อที่ควร
       ประพฤติ  ไม่ทำตามไม่มีโทษ แต่ไม่ได้รับความ
       สมบูรณ์
ข. ความหมายตามเนื้อหา
(1)    ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์    อันมีหลักแสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็น       ไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาป อันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรม               ประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิ พิธี ที่กระทำตามความเห็น หรือตามคำสั่งสอนในในความเชื่อถือ         นั้น
(2)    คำสั่งสอน การสั่งสอน การอบรม  ที่เกี่ยวกับการควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ใจ เป็น           คำสั่งสอนที่บอกให้รู้หลักดำเนินชีวิตที่ดีที่สุด เป็นจุดรวมใจศรัทธาของประชาชน ไม่ได้หมาย         เอาเฉพาะความเชื่อหรือพฤติกรรม แต่เป็นความประพฤติของมนุษย์
(3)    หลักธรรม  ที่ทำให้มนุษย์กลายสภาพจากการเป็นคนเยิงและสัตว์ป่า ทำให้สัตว์ป่ากลายสภาพ         เป็นมนุษย์ สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ที่ไม่เป็นสัตว์ป่าทั้งหลาย
ศาสนามีอยู่ 2 ประเภท
- เทวนิยม = นับถือ / เชื่อว่ามีพระเจ้า เช่น  คริสต์  อิสลาม  ฮินดู
- อเทวนิยม = ไม่ความเชื่อเรื่องพระเจ้า เช่น   พุทธ  เชน

ทัศนะทางตะวันตก "Religion"
Religion = การมอบศรัทธาต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือตน มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1. เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในโลก
2. เชื่อว่า คำสอนต่างมาจากพระเจ้า
3. เชื่อโดยไม่มีการพิสูจน์ แต่อาศัยอานุภาพของพระเจ้า
4. ยอมมอบตนแด่พระเจ้าโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
ทัศนะทางตะวันออก "ศาสนา"
ศาสนา มีความหมายไม่ตรงกับคำว่า Religion  มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1. ไม่มีหลักความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า
2. ไม่มีหลักความเชื่อว่า คำสอนต่างๆ มาจากพระเจ้า
3. ไม่ให้เชื่อโดยไม่มีการพิสูจน์
4. ให้อิสระและสำคัญแก่มนุษย์ ไม่ได้ยอมมอบให้ใครอื่น

ลักษณะร่วมกันของศาสนา (ตะวันตก+ตะวันออก)
1. เป็นเรื่องเชื่อถือได้ มีความศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติตาม
2. มีคำสอน/กฎเกณฑ์การปฏิบัติ เพื่อบรรลุผลดีของสังคม
3. มีผู้ประกาศ ผู้สอน  และเป็นที่ยอมรับตามประวัติศาสตร์
4. มีผู้สืบทอด ปฏิบัติ  ทำหน้าที่สอนและทำพิธีกรรม

องค์ประกอบของศาสนา
คณะกรรมการผู้วิจัยศาสนาและความเชื่อ สภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2506 กำหนดไว้ 5 ประการ
  1. มีศาสดา
  2. มีหลักธรรมคำสอนที่มีการระบุชัดเจนเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยาและกฎเกณฑ์การปฏิบัติ
  3. มีหลักความเชื่อเป็นปรมัตถ์
  4. มีพิธีกรรม
  5. มีสถาบันทางศาสนา




ความแตกต่างระหว่างปรัชญา กับศาสนา

ปรัชญา
1. ศึกษาวิธีคิด ความรู้  คุณค่ามนุษย์
2. การแสวงหาคำตอบเชิงตรรกะ
3. มนุษย์ที่มีคุณค่า คือผู้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล
4. เริ่มต้นด้วยความสงสัยใฝ่รู้ อาจจบลงการปฏิบัติหรือไม่ก็ได้
5. ใช้วิธีการอุปนัย
6. ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาพิจารณาความจริง
7. ค้นคว้าด้วยเหตุผลเท่านั้นถึงจะเข้าถึงสัจธรรมได้
8. มุ่งแสวงหาคำตอบที่เป็นไปได้
9. ยึดทฤษฎีเป็นหลัก
10.แสวงหาปัญญารอบด้าน
11.ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์
12. มุ่งค้นคว้าความจริง
13. มุ่งให้มีความรู้เชิงเหตุผล
14. มีคำตอบยังไม่สิ้นสุด
15. ยึดเหตุผลเป็นหลัก
16. ไม่พิธีกรรม


ศาสนา

1. ศึกษาหลักประพฤติปฏิบัติให้ถึงความดี
2. เน้นศรัทธา   และความสุขทางใจ
3. มนุษย์ที่มีคุณค่า คือ ผู้มีคุณธรรม
4. เริ่มต้นด้วยศรัทธา จบลงด้วยการปฏิบัติ
5. ใช้วิธีการนิรนัย
6. ใช้วิธีมอบกายถวายชีวิต
7. ใช้ความภักดีและศรัทธาจึงจะเข้าถึงสัจธรรมได้
8. มุ่งให้พ้นทุกข์
9. ยึดการปฏิบัติเป็นหลัก
10.มุ่งแสวงหาความสงบทางจิตใจ
11.มีความศักดิ์สิทธิ์
12. มุ่งเข้าถึงความจริง
13. มุ่งให้คนมีคุณธรรม
14. มีคำตอบสิ้นสุดแล้ว
15. ยึดศรัทธาเป็นหลัก
16. ยึดพิธีกรรมเป็นหลัก 



ศาสนา
ปรัชญา
มีศาสดาเป็นผู้ประกาศคำสอน
มีนักปรัชญาประกาศทัศนะซึ่งไม่ใช่ศาสดา
มีคัมภีร์เป็นที่รวบรวมคำสอน
มีหนังสือแต่ไม่ใช่คัมภีร์และไม่ศักดิ์สิทธิ์เหมือนศาสนา
มีพิธีกรรม
ไม่มีพิธีกรรม
มีศาสนิกนับถือ เลื่อมใส
มีหรือไม่ก็ได้
มีศาสนสถาน
ไม่มีศาสนสถาน
แสวงหาความจริงด้วยพื้นฐานคือศรัทธา เหตุผล และการปฏิบัติตาม
แสวงหาความจริงด้วยเหตุผลและการเก็งความจริ




ความเหมือนกันของปรัชญากับศาสนา

1. ความรู้ในการแก้ปัญหาชีวิต
2. อธิบายโลกและชีวิต
3. มีลักษณะเป็นนามธรรม
4. อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
5. อยู่ในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์