คุณวิทยา : Theory of Value
ความหมายของคุณวิทยา หรือปรัชญาคุณค่า
คำว่า axiology มาจากคำในภาษากรีกว่า
“axios” ซึ่งหมายถึง “เหมือนกับที่มีคุณค่า” (of like value) หรือ
“ความมีค่ามากเท่าที่จะเป็นได้” (worth as much)
ความหมายของคุณวิทยา หรือปรัชญาคุณค่า
คำว่า axiology มาจากคำในภาษากรีกว่า
“axios” ซึ่งหมายถึง “เหมือนกับที่มีคุณค่า” (of like value) หรือ
“ความมีค่ามากเท่าที่จะเป็นได้” (worth as much)
ปรัชญาคุณวิทยา
เป็นเรื่องราวของการสืบหาธรรมชาติและเกณฑ์มาตรฐานของคุณค่าหรือค่านิยม
ซึ่งมีกำเนิดมาจากทฤษฎีแห่งแบบหรือทฤษฎีการจินตนาการของ Plato ในเรื่องความคิดเกี่ยวกับความดี
ความหมายของ "คุณวิทยา"
1. ศาสตร์ที่ศึกษาความจริง
(Positive Science หรือ Natural
Science) ศาสตร์นี้ศึกษาความจริง
(Fact) หรือตามที่มันเป็นจริง
เช่น วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น
2.ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องคุณค่า
(Normative Science)
หมายถึงศาสตร์ที่เน้นเรื่องคุณค่า (Value)
อุดมคติภายใน
ศาสตร์ที่ว่าด้วยสิ่งที่ควรจะเป็น เช่น จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ ตรรกศาสตร์ เป็นต้น
คำว่า "ข้อเท็จจริง" (fact)
เป็นเพียงปรากฏการณ์หรือพฤติกรรมที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส
ส่วนคุณค่ามีลักษณะที่อาศัยข้อเท็จจริงว่าควรจะเป็นอย่างไร และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
คุณค่าเกิดจาก
การประเมินไม่ใช่การวัด เพราะคุณค่าเป็นนามธรรม
คุณค่าเป็นสิ่งที่กำหนดเองไม่ได้ต้องมติของคนส่วน
ใหญ่ เป็นที่ยอมรับของคนส่วนมาก
คำว่า "คุณค่า" (value)
หมายถึงลักษณะที่พึงประสงค์
คุณค่าเป็นนามธรรมอันเกิดจากการประเมิน
ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สังคม
คุณค่า (value) กับ ข้อเท็จจริง (Fact)
คุณค่าแตกต่างจากข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน ยกตัวอย่าง เช่น
ตัวที่ 1 มีสีดำและมีขนาดเอว 32 นิ้ว
ตัวที่ 2 มีสีน้ำเงินและมีขนาดเอว 26 นิ้ว
หากมีคนถามคุณว่า.-
1. กางเกงตัวไหนมีขนาดใหญ่กว่ากัน ? (ข้อเท็จจริง)
2. กางเกงยีนส์ตัวไหนสวยกว่ากัน
?
(คุณค่า)
ข้อเท็จจริง (Fact)
|
คุณค่า (value)
|
หนังสือเล่มนี้แดงเขียน
|
หนังสือเล่มนี้ดี
|
นางสาว กุ๊กไก่ สูง 5
|
นางสาว ก. สวย
|
กฎหมายฉบับนี้ออกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว
|
กฎหมายฉบับนี้ล้าสมัยไม่ยุติธรรม
|
ประเภทของคุณค่า (the kind of value)
1.
คุณค่านอกตัว (Extrinsic Value) เป็นคุณค่าที่นอกตัว
สิ่งหรือกระทำนั้น ๆ เป็นเพียงวิถีทางหรือ
อุปกรณ์ที่จะนำไปสู่จุดหมายสุดท้าย
ไม่มีคุณค่าในตัวเอง แต่คุณค่าของมันอยู่ที่ผู้กระทำปรารถนา เช่น
เงิน
เป็นสิ่งที่มีค่า เป็นคุณค่านอกตัว เพราะมีเงินต้องนำไปซื้อ
เพื่อให้สำเร็จสมความมุ่งหมาย
2. คุณค่าในตัว (Intrinsic Value) เป็นคุณค่าที่ตรงกับจุดหมายสุดท้ายคือเป้าหมายของสิ่งหรือการ
กระทำนั้นอยู่ในตัวเอง ไม่เป็นวิถีหรืออุปกรณ์นำไปสู่สิ่งอื่นอีก เช่น นักเรียนขยันเรียน เพราะเขาเห็นว่า
เป็นสิ่งที่ดี การขยันเรียนมีจุดหมายในตัวเอง นักปรัชญาเรียกคุณค่าประเภทนี้ว่า คุณค่าที่แท้จริง
ลักษณะการตัดสินคุณค่าของคุณวิทยา 4 แบบ
1.
การตัดสินเชิงจิตวิสัย
เช่น
ดอกกุหลายจะสวยหรือไม่สวย ขึ้นอยู่กับผู้ดู
2.
การตัดสินเชิงวัตถุวิสัย
เช่น
ดอกกุหลาบจะสวยหรือไม่สวย ขึ้นอยู่กับดอกกุหลาบ
3. การตัดสินเชิงจิตวิสัย+วัตถุวิสัย
เช่น
ดอกกุหลายจะสวยหรือไม่สวย ขึ้นอยู่กับผู้ดูและดอกกุหลาบด้วย
4. การตัดสินเชิงอรรถประโยชน์
เช่น ดอกกุหลาบจะสวยหรือไม่สวย ไม่สำคัญ
อยู่ที่ว่าดอก กุหลาบนั้นใช้ประโยชน์ได้ไหม (มีค่า)
หากไม่มีก็ถือว่าไร้ค่า
การศึกษาด้านคุณค่า (the study of value)
แบ่งออกเป็น 2 สาขา
จริยศาสตร์ (Ethics)
จริยศาสตร์ (ethics) ตรงกับภาษาละตินว่า ethos, ethikos ซึ่งในสมัยกรีกโบราณจะใช้คำเหล่านี้
ในหลายความหมาย อาทิ อุปนิสัย ประเพณี
อารมณ์ หรือกิริยาท่าทาง (character, custom,
disposition, manner) โดยความหมายนัยนี้ จริยศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความประพฤติ
หรือการ
กระทำของมนุษย์ (ethics : science
of moral ; rules of conduct)
การศึกษาเรื่องคุณค่าทางจริยศาสตร์อันเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรม
หรือการกระทำของมนุษย์นั้น
พิจารณาตามขอบเขตของจริยศาสตร์ที่พยายามศึกษาหาคำตอบใน 3 ประเด็นนี้ คือ
1.คุณค่าการกระทำของมนุษย์ (ค่าทางจริยธรรม) เราจะนิยามความดีได้หรือไม่ ความดีคืออะไร
ความดีมีอยู่จริงหรือเป็นสิ่งที่แต่ละสังคมสร้างขึ้น
2.เกณฑ์ตัดสินคุณค่าการกระทำของมนุษย์์ อะไรคือเกณฑ์ในการตัดสินว่าทำอย่างนี้ถูก ทำ
อย่างนี้ผิด ควร
หรือไม่ควร
3.อุดมคติหรือเป้าหมายสูงสุดของชีวิต สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์
มนุษย์แสวงหาสิ่งที่ตน
ปรารถนามากมาย แต่มิใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อสิ่งอื่น
ปัญหาอุดมคติทางจริยศาสตร์
มนุษย์ยังมีความสับสนว่าเป้าหมายสุดท้ายของชีวิตคืออะไรกันแน่ มีกลุ่มแนวคิดได้นำเสนอไว้ 3 กลุ่ม
ใหญ่
คือ
1. กลุ่มสุขนิยม (Hedonism) เน้นแสวงความสุข ความสะดวกสบายทางกายเป็นสำคัญ
2. กลุ่มอสุขนิยม (Non-Hedonism) เน้นแสวงหาความสุขที่ละเอียดอ่อน และมีคุณภาพเหนือ
กว่าความสุขทางกาย คือ ความสุขทางจิต
3. กลุ่มมนุษย์นิยม (Hedonism) เน้นแสวงความสุขระหว่างกลาง
มนุษย์ไม่ควรลุ่มหลงความสุขทางกาย เพราะเป็นการลดตัวลงไปเป็นสัตว์
และมนุษย์ไม่ควรเชิดชูมนุษย์ด้วยกันให้บริสุทธิ์เหมือนพระเจ้า
เพราะขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์ “สังคมควรสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทั่วหน้า
และเปิดโอกาสให้แสวงสิ่งที่ตนพอใจ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น