ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับศาสนา

  ภาพสัญลักษณ์ของวิชาปรัชญา

"No science is complete without philosophy "

         ภาพสัญลักษณ์ของวิชาปรัชญา  แสดงปรัชญาเป็นราชินีแห่งวิทยาการทั้งหลาย เขียนภาพโดย Herrade De Landsberg ใน  คริตศวรรษที่ 16
          ภายในวงกลมกลางภาพมีสตรีสูงอายุนั่งอยู่บนบัลลังก์ สตรีนี้เป็นสัญลักษณ์ของปรัชญา มีนักปรัชญา 2 ท่านคือ เพลโต และ  อริสโตเติล เป็นฐานรองรับอยู่ใต้ราชินี
           ราชินีสวมมงกุฎ 3 เศียร ซึ่งหมายถึงสาขาสำคัญของปรัชญาสมัยนั้น คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์ มีธารน้ำพุ่งออกจากทรวงอกของราชินีและกลายเป็นวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งสมัยนั้นแบ่งออกเป็นศิลปะเสรี 7 วิชา คือ ไวยากรณ์ (รวมวรรณคดีอยู่ด้วย) วาทศิลป์  วิภาษวิธี ดนตรี เลขคณิต เรขาคณิตและตรรกวิทยา




ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับศาสนา
Philosophy and Religion

ความแตกต่างระหว่างปรัชญากับศาสนา
คำสำคัญที่บ่งชี้ความแตกต่าง คือ
(1) คำว่า  ศาสนา  religion    
(2) คำว่า  ปรัชญา  philosophy

ความหมายของศาสนา
ก. ความหมายตามรูปศัพท์  ศาสนา คือ คำสั่งสอน โดยแบ่งเป็น  2  ลักษณะ
(1)  คำสั่ง (Orders)  คือ ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ วินัย 
       บทบัญญัติ ไม่ทำตามมีโทษ
(2)  คำสอน (Teachings)  คือ คำแนะนำ ข้อที่ควร
       ประพฤติ  ไม่ทำตามไม่มีโทษ แต่ไม่ได้รับความ
       สมบูรณ์
ข. ความหมายตามเนื้อหา
(1)    ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์    อันมีหลักแสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็น       ไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาป อันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรม               ประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิ พิธี ที่กระทำตามความเห็น หรือตามคำสั่งสอนในในความเชื่อถือ         นั้น
(2)    คำสั่งสอน การสั่งสอน การอบรม  ที่เกี่ยวกับการควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ใจ เป็น           คำสั่งสอนที่บอกให้รู้หลักดำเนินชีวิตที่ดีที่สุด เป็นจุดรวมใจศรัทธาของประชาชน ไม่ได้หมาย         เอาเฉพาะความเชื่อหรือพฤติกรรม แต่เป็นความประพฤติของมนุษย์
(3)    หลักธรรม  ที่ทำให้มนุษย์กลายสภาพจากการเป็นคนเยิงและสัตว์ป่า ทำให้สัตว์ป่ากลายสภาพ         เป็นมนุษย์ สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ที่ไม่เป็นสัตว์ป่าทั้งหลาย
ศาสนามีอยู่ 2 ประเภท
- เทวนิยม = นับถือ / เชื่อว่ามีพระเจ้า เช่น  คริสต์  อิสลาม  ฮินดู
- อเทวนิยม = ไม่ความเชื่อเรื่องพระเจ้า เช่น   พุทธ  เชน

ทัศนะทางตะวันตก "Religion"
Religion = การมอบศรัทธาต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือตน มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1. เชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในโลก
2. เชื่อว่า คำสอนต่างมาจากพระเจ้า
3. เชื่อโดยไม่มีการพิสูจน์ แต่อาศัยอานุภาพของพระเจ้า
4. ยอมมอบตนแด่พระเจ้าโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
ทัศนะทางตะวันออก "ศาสนา"
ศาสนา มีความหมายไม่ตรงกับคำว่า Religion  มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1. ไม่มีหลักความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า
2. ไม่มีหลักความเชื่อว่า คำสอนต่างๆ มาจากพระเจ้า
3. ไม่ให้เชื่อโดยไม่มีการพิสูจน์
4. ให้อิสระและสำคัญแก่มนุษย์ ไม่ได้ยอมมอบให้ใครอื่น

ลักษณะร่วมกันของศาสนา (ตะวันตก+ตะวันออก)
1. เป็นเรื่องเชื่อถือได้ มีความศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติตาม
2. มีคำสอน/กฎเกณฑ์การปฏิบัติ เพื่อบรรลุผลดีของสังคม
3. มีผู้ประกาศ ผู้สอน  และเป็นที่ยอมรับตามประวัติศาสตร์
4. มีผู้สืบทอด ปฏิบัติ  ทำหน้าที่สอนและทำพิธีกรรม

องค์ประกอบของศาสนา
คณะกรรมการผู้วิจัยศาสนาและความเชื่อ สภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2506 กำหนดไว้ 5 ประการ
  1. มีศาสดา
  2. มีหลักธรรมคำสอนที่มีการระบุชัดเจนเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยาและกฎเกณฑ์การปฏิบัติ
  3. มีหลักความเชื่อเป็นปรมัตถ์
  4. มีพิธีกรรม
  5. มีสถาบันทางศาสนา




ความแตกต่างระหว่างปรัชญา กับศาสนา

ปรัชญา
1. ศึกษาวิธีคิด ความรู้  คุณค่ามนุษย์
2. การแสวงหาคำตอบเชิงตรรกะ
3. มนุษย์ที่มีคุณค่า คือผู้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล
4. เริ่มต้นด้วยความสงสัยใฝ่รู้ อาจจบลงการปฏิบัติหรือไม่ก็ได้
5. ใช้วิธีการอุปนัย
6. ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาพิจารณาความจริง
7. ค้นคว้าด้วยเหตุผลเท่านั้นถึงจะเข้าถึงสัจธรรมได้
8. มุ่งแสวงหาคำตอบที่เป็นไปได้
9. ยึดทฤษฎีเป็นหลัก
10.แสวงหาปัญญารอบด้าน
11.ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์
12. มุ่งค้นคว้าความจริง
13. มุ่งให้มีความรู้เชิงเหตุผล
14. มีคำตอบยังไม่สิ้นสุด
15. ยึดเหตุผลเป็นหลัก
16. ไม่พิธีกรรม


ศาสนา

1. ศึกษาหลักประพฤติปฏิบัติให้ถึงความดี
2. เน้นศรัทธา   และความสุขทางใจ
3. มนุษย์ที่มีคุณค่า คือ ผู้มีคุณธรรม
4. เริ่มต้นด้วยศรัทธา จบลงด้วยการปฏิบัติ
5. ใช้วิธีการนิรนัย
6. ใช้วิธีมอบกายถวายชีวิต
7. ใช้ความภักดีและศรัทธาจึงจะเข้าถึงสัจธรรมได้
8. มุ่งให้พ้นทุกข์
9. ยึดการปฏิบัติเป็นหลัก
10.มุ่งแสวงหาความสงบทางจิตใจ
11.มีความศักดิ์สิทธิ์
12. มุ่งเข้าถึงความจริง
13. มุ่งให้คนมีคุณธรรม
14. มีคำตอบสิ้นสุดแล้ว
15. ยึดศรัทธาเป็นหลัก
16. ยึดพิธีกรรมเป็นหลัก 



ศาสนา
ปรัชญา
มีศาสดาเป็นผู้ประกาศคำสอน
มีนักปรัชญาประกาศทัศนะซึ่งไม่ใช่ศาสดา
มีคัมภีร์เป็นที่รวบรวมคำสอน
มีหนังสือแต่ไม่ใช่คัมภีร์และไม่ศักดิ์สิทธิ์เหมือนศาสนา
มีพิธีกรรม
ไม่มีพิธีกรรม
มีศาสนิกนับถือ เลื่อมใส
มีหรือไม่ก็ได้
มีศาสนสถาน
ไม่มีศาสนสถาน
แสวงหาความจริงด้วยพื้นฐานคือศรัทธา เหตุผล และการปฏิบัติตาม
แสวงหาความจริงด้วยเหตุผลและการเก็งความจริ




ความเหมือนกันของปรัชญากับศาสนา

1. ความรู้ในการแก้ปัญหาชีวิต
2. อธิบายโลกและชีวิต
3. มีลักษณะเป็นนามธรรม
4. อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
5. อยู่ในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น