คำว่า Philosophy
มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ.-
1. Philos = Love
2. Sophia = Wisdom / Knowledge
รวมศัพท์
Philosophy = The Love of Wisdom (ความรักในความรู้)2. Sophia = Wisdom / Knowledge
รวมศัพท์
ความหมายของ ปรัชญา
คำว่า ปรัชญา มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต ว่า.-
1. ปร = รอบ, ประเสริฐ
1. ปร = รอบ, ประเสริฐ
2. ชฺญา = รู้, เข้าใจ
รวมศัพท์
ปรัชญา หมายถึง ความรู้รอบ, ความรู้ประเสริฐ
ศัพท์บัญญัติโดย...พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ปรัชญามีลักษณะกว้างมาก จึงมีนักปรัชญาและนักภาษาศาสตร์หลายท่าน ตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่งปัจจุบัน ที่พยายามจะนิยามความหมาย หรือให้ข้อจำกัดความของคำว่า “ปรัชญา” เอาไว้ อาทิเช่น
เพลโต้ (Plato) กล่าวว่า “ปรัชญา คือการศึกษาหาความรู้เรื่องสิ่งที่เป็นนิรันดรและความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น หรือธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย กล่าวคือปรัชญามุ่งที่จะให้รู้สิ่งที่เป็นนิรันดรและธรรมชาติแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย”
อริสโตเติ้ล (Aristotle) กล่าวว่า “ปรัชญา เป็นศาสตร์ที่ค้นคว้าหาความแท้จริงของสิ่งที่มีอยู่โดยตัวเอง”
ค้านท์ (Immanuel Kant) กล่าวว่า “ปรัชญา คือศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้และการวิเคราะห์วิจารณ์หรือการตรวจสอบความรู้”
เจมส์ (William James) กล่าวว่า “ปรัชญา คือหลักการที่ใช้อธิบายความเป็นมาของสิ่งทั้งปวง โดยไม่มีการยกเว้น”
คองท์ (Auguste Comte) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า “ปรัชญา คือศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งปวง”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญมี แท่นแก้ว และสถาพร มาลีเวชพงศ์ ให้ข้อจำกัดความของปรัชญาเอาไว้ว่า “ปรัชญา คือวิชาที่คิดหาเหตุผลตามหลักตรรกวิทยาเพื่อเข้าถึงความจริง”
ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ข้อจำกัดความของปรัชญาเอาไว้ว่า “ปรัชญา คือวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง”
เพลโต้ (Plato) กล่าวว่า “ปรัชญา คือการศึกษาหาความรู้เรื่องสิ่งที่เป็นนิรันดรและความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น หรือธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย กล่าวคือปรัชญามุ่งที่จะให้รู้สิ่งที่เป็นนิรันดรและธรรมชาติแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย”
อริสโตเติ้ล (Aristotle) กล่าวว่า “ปรัชญา เป็นศาสตร์ที่ค้นคว้าหาความแท้จริงของสิ่งที่มีอยู่โดยตัวเอง”
ค้านท์ (Immanuel Kant) กล่าวว่า “ปรัชญา คือศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้และการวิเคราะห์วิจารณ์หรือการตรวจสอบความรู้”
เจมส์ (William James) กล่าวว่า “ปรัชญา คือหลักการที่ใช้อธิบายความเป็นมาของสิ่งทั้งปวง โดยไม่มีการยกเว้น”
คองท์ (Auguste Comte) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า “ปรัชญา คือศาสตร์แห่งศาสตร์ทั้งปวง”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญมี แท่นแก้ว และสถาพร มาลีเวชพงศ์ ให้ข้อจำกัดความของปรัชญาเอาไว้ว่า “ปรัชญา คือวิชาที่คิดหาเหตุผลตามหลักตรรกวิทยาเพื่อเข้าถึงความจริง”
ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ข้อจำกัดความของปรัชญาเอาไว้ว่า “ปรัชญา คือวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง”
คุณค่าของปรัชญา
- เรียนไปเพื่อให้มีงานทำ
ใช่ไหม
-
เรียนไปเพื่อให้มีชื่อเสียง ใช่ไหม
-
เรียนไปเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ใช่ไหม
-
เรียนไปเพื่อค้นหาจุดมุ่งหมายปลายทางของชีวิต ใช่ไหม
-
เรียนไปเพื่อ........ฯลฯ
สรุปเรียนไปเพื่ออะไรกันแน่+++
ประโยชน์ของปรัชญา
- คิดเป็น
(ไม่ใช่แค่เพียง “คิดได้”)
- คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบมากขึ้น
- ใจกว้าง เข้าใจคนอื่นที่คิดไม่เหมือนตน
** เข้าใจโลก สังคม และชีวิตมากขึ้น **
- คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบมากขึ้น
- ใจกว้าง เข้าใจคนอื่นที่คิดไม่เหมือนตน
** เข้าใจโลก สังคม และชีวิตมากขึ้น **
ความโดดเด่นของปรัชญา
- ผู้ที่จะเรียนวิชานี้ได้ดี ต้องเป็นคนช่างคิด ช่างสงสัย
และมีความรักที่จะรู้
- ปรัชญาแตกต่างจากวิชาอื่นๆ
ตรงที่เนื้อหายังคลุมเครือ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัญหาทางปรัชญายังไม่มีคำตอบที่เด็ดขาด
ที่ทุกคนเห็นตรงกันหมด
ปัญหาปรัชญาเป็นปัญหาที่มีได้หลายคำตอบ
และแต่ละคำตอบต่างก็มีเหตุผลสนับสนุนด้วยกันทั้งนั้น -
ขอบเขตของปรัชญา
ขอบเขต : สนใจศึกษาทุกเรื่อง
ปรัชญาจะพูดถึงทุกอย่าง และมีลักษณะเป็นสากลมากที่สุด
เนื้อหา : ศึกษา
“ความเป็นจริง”
(Reality)
แขนงของปรัชญา
1. ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy)
2. ปรัชญาประยุกต์ (Applied Philosophy)
1. ปรัชญาบริสุทธิ์ (Pure Philosophy): ได้แก่ปรัชญาที่ว่าด้วยทฤษฎีหรือแนวความคิดล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับการนำไปประยุกต์ใช้ หรือการนำไปปฏิบัติ มี 4 แขนง คือ.-
1. อภิปรัชญา (Metaphysics)
2. ญาณวิทยา (Epistemology)
3. คุณวิทยา (Axiology)
1. อภิปรัชญา (Metaphysics)
2. ญาณวิทยา (Epistemology)
3. คุณวิทยา (Axiology)
4. ตรรกศาสตร์ (Logic)
2. ปรัชญาประยุกต์ (Applied Philosophy) : ได้แก่ปรัชญาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน
ปรัชญาศาสนา,
ปรัชญาศิลปะ, ปรัชญาการเมือง, ปรัชญาสังคม,
ปรัชญาภาษา, ปรัชญาวิทยาศาสตร์
ปรัชญาจิต, ปรัชญาประวัติศาสตร์ ฯลฯ
-------------------------------------
นายพัชรกุล นารีนุช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น